Wednesday, March 22, 2023

เริ่มแล้ว! งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์​1,002 ปี

 




เริ่มแล้ว! งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์​1,002 ปี
... เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566​ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการประกอบพิธีเปิดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์​ โดยมีผู้มีเกียรติทั้งส่วนราชการและภาคเอกชน ตลอดทั้งพี่น้องประชาชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก การจัดงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 31 มีนาคม 2566 ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ อ.เมือง​เพชรบูรณ์​


ทั้งนี้ ในวันนี้เป็นแรกของการจัดงาน ได้มีพิธีสักการะทางจีนสมโภช 1002 ปี ศรีหลักเมืองเพชรบูรณ์ ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพิธีสำคัญใน 7 พิธี เพื่อฉลองสมโภชถวายองค์เจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ ในการนี้องค์ฮ้อเซี๊ยโจ้ว ได้ลิขิตบทกลอน กีบุ๊ง อันเป็นมงคงถวายแด่องค์เจ้าพ่อหลักเมือง และมีการแสดงมังกร สิงโต เฉลิมฉลองสมโภชทั้งกลางวันและกลางคืนอีกด้วย


         สำหรับ การจัดงานสมโภชเสาหลักเมือง 1002 ปี จัดขึ้น ณ บริเวณหน้าหอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (ศาลากลางหลังเก่า) อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 22-31 มีนาคม 2566  มีการแสดง วงดนตรี แสง สี เสียงทุกค่ำคืน
         อนึ่ง ประวัติหลักเมืองเพชรบูรณ์​นี้  บันทึกการขึ้นทะเบียนโบราณสถานโบราณวัตถุของกรมศิลปากร สันนิษฐานได้ว่า ศิลาจารึกนี้ ครั้งแรกน่าจะถูกนำมาจากเมืองโบราณศรีเทพ มาไว้ที่วัดมหาธาตุก่อน หลังจากนั้น ก็ได้นำมายกเป็นเสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ โดยหลวงนิกรเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2443 โดยได้เลือกนำมาปักไว้ที่ป้อมกำแพงเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแนวกำแพงเมืองโบราณ เพราะเป็นบริเวณที่อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เมื่อ พ.ศ.2548 เมื่อมีการปรับปรุงก่อสร้างอาคารศาลหลักเมืองครั้งใหญ่ ได้มีการค้นพบว่า เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ เป็นศิลาจารึก ทำด้วยแท่งเสาหินทรายสีเทา มีลักษณะปลายป้านโค้งมน มีความสูงจากฐานล่างถึงปลายยอด 185 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ความหนาประมาณ 15-16 เซนติเมตร ปลายฐานด้านล่างสุดมีลักษณะแผ่ขยายออกคล้ายวงกลมแบน

           ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ทำการอ่านและแปลศิลาจารึกเสาหลักเมืองเพชรบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยสรุปได้ความว่า เป็นการจารึกลงในเสาหินใน 2 ยุคด้วยกัน คือ ครั้งแรกเป็นการจารึกในด้านที่ 1 เป็นอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต มีข้อความ 22 บรรทัด จารึกเมื่อมหาศักราช 943 ตรงกับพุทธศักราช 1564 เป็นข้อความการสรรเสริญพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ ส่วนการจารึกครั้งที่ 2 เป็นการจารึกใหม่ในด้าน 3 ด้านที่เหลือ เมื่อจุลศักราช 878 ตรงกับพุทธศักราช 2509 เป็นอักษรขอม ภาษาไทย บาลีและเขมร เป็นข้อความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และมีข้อความที่ให้ช่วยกันสืบสานพระพุทธศาสนาให้ได้ 5,000 ปี โดยการนับระยะเวลาอายุของแท่งหินที่เป็นเสาหลักเมืองเพชรบูรณ์นี้เริ่มตั้งแต่มีการแกะสลักโดยมนุษย์ ตั้งแต่มีการสลักหินออกมาเป็นแท่งจนมีการจารึกตัวอักษรบนแท่งหินในครั้งแรก ซึ่งก็น่าจะใช้เวลายาวนานพอสมควรไม่อาจกำหนดวันเดือนที่แน่นอนได้ จึงใช้การนับเวลาอายุแท่งศิลานี้แบบปีชนปี คือ เมื่อมีบันทึกว่ามีการแกะสลักครั้งแรก พ.ศ. 1564 เมื่อเวลาเวียนมาถึง พ.ศ. 2566 จึงครบเวลา 1,002 ปี 

           ติดตามคลิปการจัดงานได้ที่ https://fb.watch/jqCSidLwfo/

           ติดตามภาพข่าวจากเทศบาลเมือง​เพชรบูรณ์​ได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=579695190856727&id=100064487540312&mibextid=Nif5oz

เตรียมพบกับงานเทศกาลดนตรีกลางขุนเขาที่ทุกคนรอคอย! Chang Music Connection presents OVERCOAT MUSIC FESTIVAL 2024 ครั้งที่ 14

  เตรียมพบกับงานเทศกาลดนตรีกลางขุนเขาที่ทุกคนรอคอย! Chang Music Connection presents OVERCOAT MUSIC FESTIVAL 2024 ครั้งที่ 14 เตรียมพบกับงานเ...

บทความ