Saturday, November 9, 2024

ผอ.สนง.คปภ.จ.เพชรบูรณ์ นำอาสาสมัครประกันภัยจากเพชรบูรณ์รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 ระดับประเทศ ในงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2567 (Prime Minister’s Insurance Awards 2024)

  ผอ.สนง.คปภ.จ.เพชรบูรณ์ นำอาสาสมัครประกันภัยจากเพชรบูรณ์รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 ระดับประเทศ ในงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2567  (Prime Minister’s Insurance Awards 2024)

    



           เมื่อวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้จัดงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2567 (Prime Minister’s Insurance Awards 2024) ภายใต้แนวคิด NEXT GEN SUSTAINABLE INSURANCE : นวัตกรรมประกันภัยที่ยั่งยืนสู่โลกแห่งอนาคต ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้รับเกียรติจาก นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2567 (Prime Minister’s Insurance Awards 2024) ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศที่นายกรัฐมนตรีอนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อสลักลงบนโล่เกียรติยศ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและแบบอย่างที่ดีในการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติ บุคคล หน่วยงาน สถาบัน บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นในการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประกันภัย



           ในโอกาสเดียวกันนี้ นางเพชรรัตน์ แสงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ.จ.เพชรบูรณ์ ได้รับมอบหมายให้ประสานงานกับนายวันชัย  ศรีเหนี่ยง  อาสาสมัครประกันภัยเพื่อร่วมพิธีมอบรางวัลในฐานะผู้ได้รับรางวัลอาสาสมัครประกันภัยดีเด่น รองชนะเลิศ อันดับ 1 ระดับประเทศด้วย ซึ่งรางวัลอาสาสมัครประกันภัยดีเด่น ในครั้งนี้ มีพิธีมอบ จำนวน 3 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายรัฐยาทิภัฏ  วงศ์สัมฤทธิ์ จากจังหวัดชุมพร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 นายวันชัย  ศรีเหนี่ยง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 นายนนท์ปวิธ  แก้วนุ่ม จากจังหวัดพัทลุง

 










           โดยปีนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกอย่างเป็นธรรมและเข้มข้นภายใต้กรอบกติกาที่กำหนดไว้ แบ่งรางวัลออกเป็น 12 ประเภทรางวัล จำนวนรวม 53 รางวัล ประกอบด้วย  1) รางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด (Hall of Fame) ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  2)รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น มี 7 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ อันดับที่ 1 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 2 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 3 บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และ 2) รางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ อันดับที่ 1 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 2 บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 3 บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย   3) รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาดีเด่น จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น ได้แก่ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และรางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการพัฒนาดีเด่น ได้แก่ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) (มหาชน)    4) รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และรางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 


              5) รางวัลนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อ




ประชาชนดีเด่น จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทนายหน้าประกันชีวิตนิติบุคคลที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ได้แก่ บริษัท  เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด และรางวัลบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยนิติบุคคลที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ได้แก่ บริษัท  ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด    6) รางวัลนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น จำนวน 6 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลนายหน้าประกันชีวิตนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น (จำนวน 2 รางวัล) ได้แก่ บริษัท ไทยพาณิชย์โพรเทค จำกัด บริษัท ศรีกรุงประกันชีวิต โบรคเกอร์ จำกัด และรางวัลนายหน้าประกันวินาศภัยนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น (จำนวน 4 รางวัล) ได้แก่ บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีที อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูพีดี โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท ฮาวเด้นแมกซี่ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด     7) รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีความยั่งยืนดีเด่น ได้แก่ บริษัท เอไอเอ จำกัด และรางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีความยั่งยืนดีเด่น ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 


             8) รางวัลบริษัทประกันภัยที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น ได้แก่ บริษัท เอไอเอ จำกัด และรางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น ได้แก่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)   9) รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงาน คปภ. และระบบประกันภัย ได้แก่ ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) 10) รางวัลตัวแทนประกันชีวิตคุณภาพดีเด่น จำนวน 16 ราย ได้แก่ นางสาวกรวรรณ  คงด้วง นางสาวเกศิณี  เพ็ชรแสนงาม นางชวนพิศ  พูลทวี นางสาวณัฐชานันท์  นันทพงศ์โภคิน นายทศพร  อินคล้า นางสาวธัญณลัคน์  วรินทร์พงศ์ นางสาวธิดาจิตร  มุขมณี นางสาวประภาภรณ์  โพลดพลัด นางสาวผานิต  หมื่นสันธิ นายพงศ์ภวัน  เศรษฐ์ธนันท์ ดร.เพ็ญพิชา  สร้างการนอก นายภัทจ์  สิทธิร่ำรวย นางภัทนี  ศิริวารินทร์ นายรัฐวิชญ์  อัศวหิรัญพณิช นางสาวศันส์สิริ  สิริทวีวัจน์ นางอรวรรณ  ผันเผาะ และรางวัลตัวแทนประกันวินาศภัยคุณภาพดีเด่น จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายกอบเดช  รอดรัต และ นางสาวขวัญฤทัย  มโนรส      





           11) รางวัลอาสาสมัครประกันภัยดีเด่น จำนวน 3 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ นายรัฐยาทิภัฏ  วงศ์สัมฤทธิ์ จาก จ.ชุมพร  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 นายวันชัย  ศรีเหนี่ยง  จาก จ.เพชรบูรณ์ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 นายนนท์ปวิธ  แก้วนุ่ม จาก จ.พัทลุง  และ 12) รางวัลอัจฉริยะยุวชนประกันภัย การประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านการประกันภัยดีเด่น ประจำปี 2567 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค จังหวัดสระบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชริราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร จังหวัดปทุมธานี และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร 




           ในโอกาสนี้ นายพิชัย  ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลและกล่าวโดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน รางวัลนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความพยายาม ความทุ่มเท และความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับวงการประกันภัย และเชื่อว่าความสำเร็จของทุกท่านจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการในวงการและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันผลักดันการเติบโตของธุรกิจประกันภัยไทยในอนาคต และขอชื่นชมคณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ รวมทั้งขอบคุณภาคธุรกิจประกันภัยที่ได้มีบทบาทสำคัญร่วมกับภาครัฐและสำนักงาน คปภ. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผ่านระบบประกันภัย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย”

        ติดตามการถ่ายทอดสดพิธีมอบรางวัลฯ ย้อนหลังได้ที่เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/share/v/b2rPjWQTdbUPNxEW/

       ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บลิงก์  

https://www.facebook.com/share/7dW7jg4q6scsSQC7/?mibextid=oFDknk


Thursday, November 7, 2024

ป.ป.ช.เพชรบูรณ์ร่วมกับชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จ.เพชรบูรณ์ จัดประชุมสรุปงานและร่วมวางแผนขับเคลื่อนงาน ปีงบประมาณ 2568

         ป.ป.ช.เพชรบูรณ์ร่วมกับชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จ.เพชรบูรณ์ จัดประชุมสรุปงานและร่วมวางแผนขับเคลื่อนงาน ปีงบประมาณ 2568




            เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับ ชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ณ ห้องประชุมพ่อขุนผาเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
















         การประชุมดังกล่าว เพื่อชี้แจงผลการดำเนินโครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดย คณะกรรมการชมรมฯ เจ้าหน้าที่ป้องกันการทุจริตและยังร่วมวางแผนการดำเนินงาน รวมถึงกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ด้วย

Wednesday, November 6, 2024

ป.ป.ช.เพชรบูรณ์ เดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

 ป.ป.ช.เพชรบูรณ์ เดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

       เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนางสาวนุชจรินทร์ อินประถม ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจสอบทรัพย์สิน จัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการตอบข้อซักถามให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์



📌สำหรับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินรวมถึงเอกสารประกอบ ให้ใช้แบบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินตามประกาศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยผู้ยื่นบัญชีสามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ 3 ช่องทาง คือ

1. จัดส่งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคคลอื่นจัดส่งแทน ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

2. จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เรียน ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เลขที่ 666 หมู่ที่ 5 ตำบลสะเดียงอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000

3.ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินออนไลน์ผ่านระบบ ODS https://asset.nacc.go.th/ods-app/  สะดวก รวดเร็ว จัดเก็บและบริหารข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนรายการทรัพย์สินได้ง่าย





เพชรบูรณ์จัดประชุมวางแผนโครงการปลูกพลังบวกฯ สู่สุขภาวะที่ดีของเด็กปฐมวัย

 เพชรบูรณ์จัดประชุมวางแผนโครงการปลูกพลังบวกฯ สู่สุขภาวะที่ดีของเด็กปฐมวัย



 เมื่อวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จ.เพชรบูรณ์ ได้มีการจัดประชุมคณะบุคคล และคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามงานและร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวก เพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง(เหล้า-บุหรี่) สู่สุขภาวะที่ดีของเด็กปฐมวัย ในจังหวัดเพชรบูรณ์

      สำหรับโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง(เหล้า-บุหรี่)สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงช่วงที่ 3 ของโครงการ เป็นช่วงของการพัฒนาเข้าสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีแก่เด็กปฐมวัย โดยปรับชื่อโครงการเป็น "โครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้า-บุหรี่) สู่สุขภาวะที่ดีของเด็กปฐมวัย" ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ปี 2567-2569 โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง ครูปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเด็กปฐมวัย และมีความสามารถบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้เกิดกลไกและเครือข่ายความร่วมมือในการบูรณาการ สู่แผนพัฒนาการศึกษาในระดับจังหวัด และภูมิภาค (Governance) ฯลฯ และเพื่อให้เกิดสื่อสร้างสรรค์สำหรับรณรงค์สร้างความตระหนักในการปลุกจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย และเผยแพร่ประชาสัมพัมพันธ์สู่สาธารณะ กับเพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัยผลลัพธ์และผลกระทบด้านทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยที่ผ่านการจัดกิจกรรมปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุมกัมกันปัจจัยเสี่ยง สู่สุขภาวะที่ดีของเด็กปฐมวัย ต่อยอดไปยังการป้องกันสิ่งเสพติดชนิดอื่น และพัฒนาชุดกิจกรรมรวมทั้งสื่อประกอบตามช่วงวัยในระดับประถมศึกษา








             สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินการ ได้แก่ การจัดทีมจังหวัด แนวทาง/แผนการปฏิบัติการ Governance การขยายผล/อบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม การนำสู่ห้องเรียน บูรณาการแผนการ การจัดกิจกรรม หลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมสานสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูกผูกพัน บ้าน โรงเรียน ชุมชน

            นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการนิเทศ เสริมพลัง ติดตาม ประเมิน การประเมินต้นแบบ และแหล่งเรียนรู้ การประกวดสื่อ/นวัตกรรม และกิจกรรมรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์ การประสานภาคีความร่วมมือปฐมวัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง การพนันอุบัติเหตุ Health Literacy การเชิดชูเกียรติ โชว์ แชร์ เชื่อม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ Online & Chanel ทั้งนี้ ได้เตรียมตั้งงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม 30,000 บาท



             สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีการให้ข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยผู้มีส่วนขับเคลื่อนสำคัญในครั้งนี้ คือ นางสาวมาลัย มินศรี ผู้จัดการโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสียง(เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัย ระดับจังหวัด ของสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)        










              อนึ่ง ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะทำงานและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือปฐมวัย หลายท่าน ได้แก่ 1) นายจักรกฤษณ์ ยศปัญญา 2) นายสำเริง บุญแจ้ง 3) นางฝ้ายคำ เหาะหา 4.) ตัวแทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ 5) ตัวแทนท้องถิ่นจังหวัด 6) ผศ.วิชญาพร อ่อนปุย 7) อ.พิชญาภา ตรีวงษ์ 8) นางทัศนัย ราชสังข์ 9) นายวันชัย ศรีเหนี่ยง 10) นายปัณณฑัต ปานเงิน 11) คณะครูใน อบต.และเทศบาล จำนวน 5 คน 12) คณะครูโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) 13) ทีมขับเคลื่อนของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จำนวน 8 คน และ 14) ทีมภาคเหนือล่าง 2 คน

            ติดตามคลิปบรรยากาศการประชุมได้ที่เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/share/v/vqxwGdMwbHKzK9cA/?mibextid=A7sQZp  

            และเว็บลิงค์ 

https://www.facebook.com/share/v/vqxwGdMwbHKzK9cA/?mibextid=A7sQZp

             ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/share/LoBHrDBUn5vyLEZo/?mibextid=oFDknk

ติดตามคลิปบรรยากาศสุดประทับใจ งาน EDM อีสานแดนซ์ มิวสิคเฟส 2024 บริเวณหน้าไร่ B.N. ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา

  ติดตามคลิปบรรยากาศสุดประทับใจ งาน EDM อีสานแดนซ์ มิวสิคเฟส 2024  บริเวณหน้าไร่ B.N. ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันเสาร์...

บทความ