Friday, August 4, 2023

จังหวัดเพชรบูรณ์ เตรียมจัดงาน “อินทผลัมเพชรบูรณ์ แอนด์ บอลลูนเฟสติวัล” เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวฤดูฝน

       


  เตรียมจัดงาน “อินทผลัมเพชรบูรณ์ แอนด์ บอลลูนเฟสติวัล” เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวฤดูฝน

            เมื่อวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่สวนอินทผลัมพรหมราช ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ หอมมาลัย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าวเตรียมจัดงาน “อินทผลัมเพชรบูรณ์  แอนด์ บอลลูนเฟสติวัล” เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวฤดูฝนจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน เกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัม และประชาชน เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว

   



         อนึ่ง  การจัดงาน“อินทผลัมเพชรบูรณ์แอนด์บอลลูนเฟสติวัล” เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวฤดูฝนจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดฤดูกาลแห่งความสุขของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมกับจังหวัดเพชรบูรณ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอเขาค้อ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม 2566 ณ สนามหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบูรณ์ (ข้างองค์พระใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เปิดฤดูกาลแห่งความสุขของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น  





             ภายในงานสามารถ เลือกซื้อ อินทผลัมสด จากเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยตรง พร้อมชิมฟรีตลอดทั้งงาน อีกทั้งยังสามารถเลือกซื้อ อาโวกาโด แมคคาเดเมีย โกโก้ สินค้าเกษตร และสินค้า OTOP เพชรบูรณ์ มากมายรวมกว่า 90 บูท ในงานยังมีการออกร้านอาหาร สไตล์ฟู้ดทรัค (Foodtruck) และร้านอาหารปลอดภัยมากมาย ชิลล์ แช๊ะ แชร์ กับมินิบอลลูน (Mini Ballloon Fancy) ตัวการ์ตูนหลากสีสัน นอกจากนี้ยังมี การแสดงดนตรี การแสดงมายากล เครื่องเล่นเด็กกลางแจ้ง กิจกรรม DIY กิจกรรมลุ้นรับของที่ระลึก และกิจกรรมอื่นๆ มากมาย

          วันชัย ศรีเหนี่ยง ข่าว/ภาพ ขอขอบคุณ​สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์

           ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บลิงค์​ https://www.facebook.com/groups/www.phetchabunenews/permalink/6570766549636318/?mibextid=Nif5oz

คณะ ป.ป.ช.จ.เพชรบูรณ์​ ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามงานสร้างถนนและโครงการอื่นๆ ของ อบต.ดงมูลเหล็กเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและส่งเสริมให้ จนท.รัฐปฏิบัติภายใต้ระเบียบกฎหมายและบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาชน

           


คณะ ป.ป.ช.จ.เพบูรณ์​ ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามงานสร้างถนนและโครงการอื่นๆ ของ อบต.ดงมูลเหล็ก เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและส่งเสริมให้ จนท.รัฐปฏิบัติภายใต้ระเบียบกฎหมายและบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาชน   



         เมื่อวันศุก​ร์ที่​  4 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 น. คณะชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยผู้แทนชมรม STRONG อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ในกิจกรรม Watch & Voice เพื่อติดตามการดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

         การลงพื้นที่ดังกล่าว ได้สังเกตการณ์โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รหัสสายทาง พช.ถ.42-093 ซอยคลองยอดทะเล หมู่ที่ 4 บ้านดงมูลเหล็ก งบประมาณดำเนินการ 1,370,000 บาท และติดตามโครงการอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ


         ทั้งนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เครือข่ายภาคประชาชน ในการติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายภาคประชาชน

          สำหรับผู้แทนชมรม STRONG อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้แก่ นายวีระยุทธ วงศ์​อุ้ย  นางสาริณีย์ เขื่อมวราศาสตร์ และนายสนธิชัย สาระวัน



          วันชัย ศรีเหนี่ยง ภาพ/ข่าว  ขอขอบคุณ​ สนง.ป.ป.ช.จ.เพชรบูรณ์​เอื้อเฟื้อข้อมูล 

           ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่ง​ได้ที่เว็บไซต์เฟสบุ้ค เว็บ​ลิงค์​

https://www.facebook.com/groups/www.phetchabunenews/permalink/6570034413042865/?mibextid=Nif5oz

เพชรบูรณ์​จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ​เครือข่ายยุติธรรมภาคประขาชนเพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์​ตามแนวทางสันติวิธี


 เพชรบูรณ์​จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ​เครือข่ายยุติธรรมภาคประขาชนเพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์​ตามแนวทางสันติวิธี

          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์​ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ​เพชรบูรณ์​ เป็นประธาน เปิดการอบรมตามโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ​เครือข่ายยุติธรรมภาคประขาชนเพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์​ตามแนวทางสันติวิธี โดยมียุติธรรมจังหวัดกล่าวรายงาน และมีบุคลากรเครือข่ายยุติธรรมและนักศึกษา​เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมสีทอง ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์




            นางสาวภาวนา ธนคุณารักษ์ ยุติธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์​ได้กล่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากสังคมไทยปัจจุบัน ได้นำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมชุมชนเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อ "แก้ปัญหาคดีล้นศาล ผู้ต้องขังล้นคุก" รวมทั้งการปรับปรุงช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนด้วยการขยายศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้ครอบคลุมทุกตำบล ทุกจังหวัด นั้น ทั้งนี้ ในการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติที่สำคัญจึงอยู่ที่ "กลุ่มเครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชน" ซึ่งถือเป็นเป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการในระดับพื้นที่ เพื่อให้ดำเนินการเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในปัจจุบัน พบว่า การทำงานของ "กลุ่มเครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชน" เพียงฝ่ายเดียวอาจยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายหลักในการสร้างสังคมแห่งสันติสุขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อขัดแยังตามแนวทางสันติวิธี ดังนั้น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้าโครงการ จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชนเพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ตามแนวทางสันติวิธี: เขตภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนตามแนวทางสันติวิธีให้กับผู้แทนเครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 40 คน เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ





            หลังพิธีเปิดแล้ว มีการดำเนินการให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ กฎหมายนโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธีของ "เครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชน" โดยมีนางสาวภาวนา ธนคุณารักษ์ ยุติธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิทยากร






         จากนั้นเป็นการให้ความรู้เรื่อง หลักสิทธิมนุษยชนกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของประเทศไทย โดยมีคุณธีระยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นวิทยากร


          สำหรับวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เป็นการให้ความรู้เรื่อง การเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบสันติวิธี ตามแนวทางยุติธรรมชุมชนวิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิทยากรกระบวนการ โดย นักวิชาการจากคณะสังคมศาสตร์ จากนั้นจะให้ความรู้​เรื่อง การบูรณาการการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธีของ "เครือข่ายยุติธรรมภาคประชาชน" วิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยากรกระบวนการ โดย นักวิชาการจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร



         ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายกำหนดให้เป็นการฝึกปฏิบัติการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบสันติวิธี ตามแนวทางยุติธรรมชุมชน (Workshop)​วิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยากรกระบวนการ โดย นักวิชาการจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามด้วยการให้ความรู้และประสบการณ์​เรื่อง การเทคนิคการให้คำปรึกษา และการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบชุมชนมีส่วนร่วม วิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยากรกระบวนการ โดยนักวิชาการจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร



              วันชัย ศรีเหนี่ยง ภาพ/ข่าว  ขอขอบคุณ​ สนง.ยุติธรรม จ.เพชรบูรณ์​เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูล

              ติดตามคลิปประกอบข่าวได้ที่เว็บ​ลิงค์​  https://www.facebook.com/groups/www.phetchabunenews/permalink/6570134806366159/?mibextid=Nif5oz

              ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บ​ไซต์​เฟสบุ๊ค​ เว็บ​ลิงค์

https://www.facebook.com/groups/www.phetchabunenews/permalink/6568441863202120/?mibextid=Nif5oz

Tuesday, August 1, 2023

สุดเยี่ยม นักเรียน รร.บ้านผาทอง คว้าถ้วยชนะเลิศ และรองชนะเลิศแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย


 สุดเยี่ยม นักเรียน รร.บ้านผาทอง คว้าถ้วยชนะเลิศ และรองชนะเลิศแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย

        นักเรียนโรงเรียนบ้านผาทอง อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ สร้างชื่อคว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศใน​การแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 (Thailand Robotics Challenge 2023)​ ระหว่างวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนสีชมพูศึกษา อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น



         นายอรรถพล ดีบุญมี ณ ชุมแพ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านผาทอง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์​ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา​เพชรบูรณ์​ เขต 1  เปิดเผย​ผ่านเฟสบุ้คชื่อ "ครูแบงค์ ครูบ้านนอก" ว่า  นักเรียนโรงเรียนบ้านผาทอง ได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 (Thailand Robotics Challenge 2023)​ระหว่างวันที่ 29 - 30 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนสีชมพูศึกษา อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ผลปรากฎ​ว่า  นักเรียนได้รางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ​ รวม 2 รางวัล โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ​เป็นผู้มอบถ้วยรางวัลให้ด้วย



        สำหรับข้อความที่กล้าวถึงในครั้งนี้ คือ " ไม่ได้มาเล่นๆนะคร๊าบ...โรงเรียนบ้านผาทอง ส่ง ทีมโรบอท เข้าร่วมการแข่งขัน ประเภทหุ่นยนต์ อัตโนมัติ ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5  จำนวน 2 ทีม 2  รายการ ได้ชนะเลิศ 1รายการ...รองชนะเลิศอันดับ 2 อีก 1 รายการ... รับถ้วยรางวัล จาก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กันปาย ...ไชโยโห่ฮิ้ว...บอกแล้วพี่ไม่ได้มาเล่นๆ...#ขอบคุณทุกแรงใจ  #ขอบคุณทุกแรงผลักดัน "

           สำหรับโรงเรียนบ้านผาทอง ตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2510  ตั้งอยู่หมู่ที่  8  บ้านผาทอง ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์​ 67150 มีนายอรรถพล ดีบุญมี ณ ชุมแพ  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา​ มีนักเรียนชาย 26 คน 



 นักเรียนหญิง 23 คน รวม 49 คน แบ่งห้องเรียน 8 ห้องเรียน  มีครู 5 คน อาจถือว่าเป็นโรงเรียนขนาดเล็กแต่มีเด็กและครูที่ความสามารถพิเศษ มีคุณภาพที่น่ายกย่อง อาจถือว่าเป็นโรงเรียนคุณภาพ  ​"โรงเรียนขนาดเล็ก แต่เป็นเล็กพริกขี้หนู" ของจังหวัดเพชรบูรณ์

       ข่าวโดย วันชัย ศรีเหนี่ยง  อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ​ (อส.ศธฺ)​

        ขอขอบคุณ​เรื่อง/ภาพบางส่วน "ครูแบงค์ ครูบ้านนอก" 

         ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่​เว็บไซต์​เฟสบุ๊ค​เว็บ​ลิงค์

https://www.facebook.com/groups/508338716343704/permalink/1657525111425053/?mibextid=Nif5oz

           

Monday, July 31, 2023

คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณี “โกดังพลุระเบิดในพื้นที่ตลาดมูโนะ” จังหวัดนราธิวาส

 


คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณี “โกดังพลุระเบิดในพื้นที่ตลาดมูโนะ” จังหวัดนราธิวาส 

        เลขาธิการ คปภ. สั่งตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ เพื่อนำระบบประกันภัยเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้นโดยเร็ว 




ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีโกดังเก็บดอกไม้ไฟ พลุ และประทัด ของร้านวิรวัฒน์พาณิชย์ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตลาดมูโนะ ท้องที่หมู่ 1 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เกิดระเบิดส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 12 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 121 ราย บ้านเรือนประชาชน รถยนต์ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. ภาค 9 (สงขลา) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดนราธิวาส ลงพื้นที่และจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งการรับแจ้งเรื่องการทำประกันภัย ตรวจสอบข้อมูลและเอกสารการทำประกันภัย และติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อใช้ระบบประกันภัยเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัวของผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พร้อมสำรวจความเสียหายผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักงาน คปภ. จังหวัดนราธิวาสได้ลงพื้นที่ทันทีเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์โกดังพลุระเบิดครั้งนี้อย่างใกล้ชิดแล้ว


ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก สำนักงาน คปภ. จังหวัดนราธิวาส ว่า จากการลงพื้นที่และตรวจสอบข้อมูลด้านการประกันภัย เบื้องต้นยังไม่พบว่าโกดังเก็บดอกไม้ไฟ พลุ และประทัด ของร้านวิรวัฒน์พาณิชย์ได้ทำประกันภัยไว้ ในส่วนของผู้เสียชีวิต ได้เร่งตรวจสอบว่าทั้ง 12 ราย มีการทำประกันชีวิตหรือประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัทประกันภัยหรือไม่ ในส่วนของผู้บาดเจ็บทั้ง 121 ราย สำนักงาน คปภ. จังหวัดนราธิวาส ได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งตรวจสอบรายชื่อว่ามีการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้หรือไม่ หากมีการทำประกันภัยจะแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้ผู้บาดเจ็บได้ทราบต่อไป

นอกจากนี้ บ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 290 หลัง ตรวจสอบเบื้องต้นพบมีการทำประกันอัคคีภัย จำนวน 8 ราย ไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,681,000 บาท 

สำหรับรถยนต์ได้รับความเสียหาย 10 คัน เบื้องต้นตรวจสอบพบมีการทำประกันภัยจำนวน 3 คัน คือ รถยนต์หมายเลขทะเบียน 3ขณ1006 กรุงเทพมหานคร ทำประกันภัยประเภท 1 ไว้กับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) วันที่เริ่มต้นความคุ้มครอง 26 กันยายน 2565 วันที่สิ้นสุดความคุ้มครอง 26 กันยายน 2566 วงเงินเอาประกันภัยรวม 590,000 บาท รถยนต์หมายเลขทะเบียน 1ขฬ221 กรุงเทพมหานคร ทำประกันภัยประเภท 1 ไว้กับ บริษัท ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) วันที่เริ่มต้นความคุ้มครอง 18 มีนาคม 2566 วันที่สิ้นสุดความคุ้มครอง 18 มีนาคม 2567 วงเงินเอาประกันภัยรวม 440,000 บาท และรถยนต์หมายเลขทะเบียน ขฉ4323 สงขลา ทำประกันภัยประเภท 1 ไว้กับ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) วันที่เริ่มต้นความคุ้มครอง 24 ตุลาคม 2565 วันที่สิ้นสุดความคุ้มครอง 24 ตุลาคม 2566 วงเงินเอาประกันภัยรวม 500,000 บาท

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จังหวัดนราธิวาสได้บูรณาการกับจังหวัดนราธิวาสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือด้านประกันภัย บริเวณถนนสายเอเชีย 18 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งการรับแจ้งเรื่องการทำประกันภัย ตรวจสอบข้อมูลและเอกสารการทำประกันภัย และติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อใช้ระบบประกันภัยเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัวของผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม


นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้มีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับสิทธิตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ

“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่ประสบเหตุจากโกดังพลุระเบิดในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสำคัญกับการทำประกันอัคคีภัย ประกันชีวิต และประกันภัยอุบัติเหตุ เพื่อที่ระบบประกันภัยเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งรัดให้มีการเยียวยาด้านประกันภัยเพื่อบรรเทาความสูญเสียและความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ หากมีข้อสงสัยด้านประกันภัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Line Chatbot@Oicconnect ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

         ติดตามคลิปข่าว ช่อง 8 พลุระเบิด ได้ที่นี่อีกช่องทางหนึ่ง เว็บลิงค์​   https://youtu.be/xbeGBuOBJ6s

         ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บ​ไซต์​เฟสบุ้ค เว็บลิงค์

https://www.facebook.com/groups/226197298482776/permalink/948628476239651/?mibextid=Nif5oz

เพชรบูรณ์จัดยิ่งใหญ่ แถลงข่าว งาน เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง ครั้งที่ 40 อำเภอหล่มสัก

  เพชรบูรณ์จัดยิ่งใหญ่ แถลงข่าว งาน เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง ครั้งที่ 40 อำเภอหล่มสัก            เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567...

บทความ