Saturday, May 11, 2024

เครือข่ายองค์กรงดเหล้าเพชรบูรณ์ร่วมกับชมรมคนหัวใจเพชร สมาคมผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย จ.เพชรบูรณ์ จัดเวที "ห่วงใย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551" ที่ มรภ.เพชรบูรณ์

 เครือข่ายองค์กรงดเหล้าเพชรบูรณ์ร่วมกับชมรมคนหัวใจเพชร สมาคมผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย จ.เพชรบูรณ์ จัดเวที "ห่วงใย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551" ที่ มรภ.เพชรบูรณ์


          เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ชมรมคนหัวใจเพชร สมาคมผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย จ.เพชรบูรณ์ ร่วมจัดเวที "ห่วงใย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551" เพื่อรับฟังความคิดเห็น แสดงความห่วงใยกับการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไปเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากยิ่งขึ้น   








          ทั้งนี้ เครือข่ายองค์งดเหล้า เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับชมรมคนหัวใจเพชร สมาคมผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย จ.เพชรบูรณ์ จัดเวที "ห่วงใย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551" ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 30 คน ร่วมแสดงความคิดเห็น







          นายสำเริง บุญแจ้ง ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของเวทีในวันนี้ โดยมีนายจักรกริช งามเลิศ กล่าวเพิ่มเติม พร้อมกับได้มีการแนะนำตัวผู้ที่เป็นครือข่ายที่ได้เดินทางมาร่วมงานในวันนี้ให้ที่ประชุมทราบจนครบทุกคน 

          นายสำเริง และคณะ ได้นำเสนอความเป็นมาของการเวทีแสดงความห่วงใย โดยมีผู้แทนจากหลายฝ่ายร่วมแสดงความห่วงใจด้วย




          สำหรับประเด็น ที่แสดงความห่วงใย นั้น มี 8 ประเด็น ได้แก่

           1) การยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเวลาการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่เวลา 11.00 - 14.00 น. และตั้งแต่เวลา 17.00 - 24.00 น.

           2) การอนุญาตให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม หรือสถานบริการที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา

           3) การอนุญาตให้ขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกิจกรรมที่จัดขึ้นในสถานที่ของทางราซการที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมควบคุมโรคเพิ่มเติมจากบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร เช่น งานแสดงดนตรี ที่จัดขึ้นในสนามกีฬาของทางราชการ เป็นต้น

            4) ผู้มีอำนาจในการกำหนดวันและเวลาห้ามขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 กำหนดเป็นอำนาจของรัฐมนตรีผู้รักษาการ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้)

              5) การแก้ไขผู้รักษาการตามกฎหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

              6) การกำหนดหลักกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดออนไลน์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกรณี ที่ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ



               7) การกำหนดรายละเอียดข้อความที่ระบบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยต้องไม่มีข้อความในลักษณะที่เชิญชวนให้บริโภค

               8) การยกเลิกการควบคุมวิธีการหรือลักษณะการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เช่น การใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคา เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และการเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การเสดง การให้บริการ การชิงรางวัล หรือประโยน์อื่นใดเป็บการตอบแทนผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เป็นต้น

               ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/groups/508338716343704/permalink/1819723245205238/?mibextid=Nif5oz

เตรียมพบกับงานเทศกาลดนตรีกลางขุนเขาที่ทุกคนรอคอย! Chang Music Connection presents OVERCOAT MUSIC FESTIVAL 2024 ครั้งที่ 14

  เตรียมพบกับงานเทศกาลดนตรีกลางขุนเขาที่ทุกคนรอคอย! Chang Music Connection presents OVERCOAT MUSIC FESTIVAL 2024 ครั้งที่ 14 เตรียมพบกับงานเ...

บทความ